logo-full-v2

knowledge

ไหมขัดฟัน อุปกรณ์สำคัญสำหรับทำความสะอาดช่องปากที่มักถูกลืม ทำไมเราต้องใช้ทุกวัน ทุกซี่ฟัน?

ไหมขัดฟัน อุปกรณ์สำคัญสำหรับทำความสะอาดช่องปากที่มักถูกลืม ทำไมเราต้องใช้ทุกวัน ทุกซี่ฟัน? อยากให้ทุกคนลองจินตนาการ เวลาเราแปรงฟันทุกวันๆ ถูฟันเราอยู่ทุกวัน แล้วเราเคยสงสัยไหมว่า แล้วตรงซอกฟันหละ? ขนแปรงมันไม่มีทางเข้าไปถึงซอกฟันแน่ๆ เราจะทำความสะอาดยังไงได้หละ? หากเราไม่ทำความสะอาดตรงซอกฟันเหมือนที่เราแปรงฟันทุกวันๆ คราบฟันที่เข้าไปติดตรงนั้น ตรงที่เราแปรงเข้าไปไม่ถึง มันจะเป็นยังไงกันหละ? แน่นอนครับ สมมติว่าเราไม่เคยใช้ไหมขัดฟันเลย พอมันอยู่บนฟันเรานานๆ ทำความสะอาดไม่ได้เลยเป็นเวลานานหลายปี คราบฟันที่ไปติดตามซอก ซึ่งอุดมไปด้วยเชื้อแบคทีเรียก็จะเริ่มทำงาน แบคทีเรียเหล่านี้จะเพิ่มจำนวนมากขึ้น เพราะสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมทำให้มันแบ่งตัวเพิ่มขึ้น หลังจากนั้นแบคทีเรียก็จะเริ่ม ทำร้ายผิวฟันด้านซอกฟัน ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุซอกฟัน ทำร้ายเหงือกที่อยู่ใกล้ซอกฟัน ทำให้กระดูกรอบฟันร่นลงไปได้ นอกจากนี้ หากเราไม่ทำความสะอาดซอกฟันและมีคราบฟันเกาะอยู่มากๆ ยาสีฟันที่เราอุส่าเลือกมาซึ่งมีฟลูออไรด์อยู่มากที่จะมาช่วยป้องกันฟันผุให้เรา สุดท้ายยาสีฟันมันก็จะไปช่วยลดฟันผุให้เราตรงซอกฟันไมได้ เราก็คงต้องเสียเนื้อฟันของเราไป หรือบางคนละเลยตรงนี้ สุดท้ายก็จบด้วยการถอนฟัน จากเหตุผลที่ผมได้เล่าไปแล้ว เราจึงต้องทำความสะอาดซอกฟันทุกซอกในช่องปากของเราให้ได้ครับ เพื่อทำให้ฟันและเหงือก สุขภาพดีตลอดเวลา จากงานทั้ง 2 งานวิจัยของ Mazhari et al (2018) และ Graziani et al (2018) นั่งยัน ยืนยัน และนอนยันมาแล้วว่า การใช้ไหมขัดฟันสามารถกำจัดคราบฟันตรงซอกฟันได้อย่างมีประสิทธิภาพ …

ไหมขัดฟัน อุปกรณ์สำคัญสำหรับทำความสะอาดช่องปากที่มักถูกลืม ทำไมเราต้องใช้ทุกวัน ทุกซี่ฟัน? Read More »

โรคปวดเส้นประสาทใบหน้า (Trigeminal neuralgia)

โรคปวดเส้นประสาทใบหน้า (Trigeminal Neuralgia) แค่ชื่อโรคก็ฟังดูน่ากลัวแล้วใช่ไหมครับ ฮ่าๆ ที่ต้องเอามาพูดวันนี้เพราะเป็นโรคที่ค่อนข้างพบได้บ่อยในคนไทยอยู่เหมือนกันครับ จึงจะมาเล่าให้ฟัง หากใครประสบอาการเหล่านี้อยู่ ก็จะได้ไม่ต้องกังวลและไปปรึกษาทันตแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้องนะครับ วันนี้ ผมจะพามารู้จักโรคปวดเส้นประสาทใบหน้า หรือ ไตรเจมินอล นูรอลเจีย จากประสบการณ์ โรคนี้เป็นโรคที่ค่อนข้างพบได้บ่อยครับ โดยส่วนมากพบในเพศหญิงวัยกลางคน (ช่วงอายุ 45 – 60 ปี) มักจะมาหาหมอด้วยอาการ – ปวด เจ็บแปร๊บๆ เหมือนโดนเข็มจิ้ม หรือเสียว บริเวณฟัน เหงือก และใบด้านซีกใดซีกหนึ่งโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน– ตรวจฟันแล้วไม่พบสาเหตุที่แน่ชัดของอาการปวด– มักจะเป็นเมื่อแปรงฟัน สัมผัส ดื่มน้ำ โดนลมพัด– จะรู้สึกปวดปานกลางถึงมาก โดยพบได้ 2 แบบครับ 1) แบบเป็นๆ หายๆ 2) แบบปวดตลอดเวลา จากงานวิจัยของ Sathasivam et al (2017) ศึกษาในชาวเอเชียก็รายงานไว้เช่นกันว่าโรคนี้มักจะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ประมาณ 1.5 เท่า และอายุที่พบเฉลี่ยอยู่ที่ 58.2 ปี ดังนั้น โรคนี้ค่อนข้างซีเรียสมากเลยทีเดียว …

โรคปวดเส้นประสาทใบหน้า (Trigeminal neuralgia) Read More »

การเคี้ยวสามารถกระตุ้นการทำงานของสมองได้ !

การเคี้ยวสามารถกระตุ้นการทำงานของสมองได้ ! เคยไหม? กินไปด้วย อ่านหนังสือไปด้วย (โดยเฉพาะช่วงสอบ) ทำไมมันถึงมีสมาธิกว่านั่งอ่านเฉยๆในทางตรงกันข้าม นั่งอ่านหนังสือเฉยๆ บางทีก็จะหลับ อ่านแล้วง่วงมากๆ  วันนี้ผมมีเรื่องที่น่าสนใจมานำเสนอ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเคี้ยวและการทำงานของสมอง มันช่วยเสริมกันอย่างไร ไปดูกัน…!ในปี 2009 2010 2012 และ 2015 Allen และ Smith ได้ตีพิมพ์การวิจัยและบทความทางวิทยาศาสตร์รวม 4 เรื่องเกี่ยวกับการเคี้ยวในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมอง โดยสรุปเอาไว้ว่า การเคี้ยวสามารถ…1. ทำให้ตื่นตัวมากขึ้น2. เพิ่มความสามารถในการเรียนรู้3. ทำให้อารมณ์ดีขึ้น4. เพิ่มสมาธิ5. ทำให้ปฏิกิริยาและการตอบสนองดีขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม การเคี้ยวไม่ได้เพิ่มความสามารถในการจำโดยตรง เราสามารถจำสิ่งที่เราอ่านได้จากประโยชน์ข้างต้นนั่นเอง“ฟังดู ประโยชน์จากการเคี้ยวก็เยอะแยะมากมาย ว่าแต่…ทำไมมันถึงบูสต์สมองเราได้ขนาดนั้น?”ฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับฮิปโปโปเตมัสในป่าใหญ่นะครับ ฮิปโปแคมปัส คือ สมองส่วนที่เกี่ยวข้องการกับการเรียนรู้ การรับรู้ หรือการจัดการกับความทรงจำ เช่น การเกิดความทรงจำระยะสั้น หรือการดึงความทรงจำระยะยาวมาใช้ เป็นต้น จากหลายๆ งานวิจัยก็พบว่า การเคี้ยวสามารถส่งสัญญานเชื่อมต่อไปยังสมองของเรามากหมายหลายส่วนครับ ไม่ใช่แค่เพื่อประมวลผลสิ่งที่เราเอาเข้าปากแล้วเคี้ยวเพียงอย่างเดียว แต่ยังพบว่ามีการส่งสัญญานไปเจ้าฮิปโปแคมปัสด้วย แล้วยังไปช่วยเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้ให้ดีขึ้นอีกด้วย  สัญญาณกระตุ้นจากการเคี้ยวสามารถเดินทางไปหาสมองของเราได้ 2 ทาง1. …

การเคี้ยวสามารถกระตุ้นการทำงานของสมองได้ ! Read More »

เบาหวานและโรคช่องปาก

ความรุนแรงของโรคเบาหวาน มีผลต่อความรุนแรงของโรคปริทันต์อักเสบด้วยจริงหรือ? เท่านั้นยังไม่พอ โรคปริทันต์อักเสบยังทำให้โรคเบาหวานรุนแรงขึ้นด้วย? มันเกี่ยวข้องกันด้วยหรือ? ก่อนจะไปหาคำตอบกัน มาทบทวนคร่าวๆเกี่ยวกับโรคปริทันต์อักเสบกันก่อน โรคปริทันต์อักเสบ คือ การเกิดอักเสบเรื้อรังบริเวณอวัยวะรอบๆฟันแท้ของเรา ได้แก่ เหงือก กระดูก ผิวรากฟัน และเอ็นยึดรากฟันหรือเอ็นยึดปริทันต์ (Periodontal ligament) ปัญหาของโรคนี้คือ พอรอบๆฟันของเราเกิดการอักเสบ กระดูกและเอ็นยึดปริทันต์จะถูกทำลายไป (ปกติมันมีหน้าที่พยุงฟันแท้ของเราให้ไม่เกิดการโยกและใช้งานได้) และเกิดปัญหาอื่นๆตามมา เช่น ฟันโยก ปวดฟันจากการอักเสบ เป็นต้น ใครมองภาพไม่ออก ลองไปอ่าน EP 1 ดูนะครับ หมอจะพาเปรียบเทียบให้เห็นภาพเลย “แล้วโรคเบาหวานเกี่ยวอะไรกันกับโรคปริทันต์อักเสบล่ะ?” ความสัมพันธ์ของโรคเบาหวานและโรคปริทันต์อักเสบเริ่มชัดเจนมากขึ้นมาตั้งแต่ช่วง 1990s แล้วครับ ซึ่งปัจจุบัน เราสามารถเรียกได้ว่ามันมีความสัมพันธ์กันแบบ “Two-way relationship” หรือสัมพันธ์กันสองทาง หมายความว่า โรคเบาหวานส่งผลให้โรคปริทันต์อักเสบแย่ลงได้ และโรคปริทันต์อักเสบยังทำให้โรคเบาหวานแย่ลงได้ด้วย มันเป็นไปได้ด้วยหรือ? ไปหาคำตอบกัน เริ่มต้นจากมุมมองของ “โรคเบาหวาน” โรคเบาหวานถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเกิดโรคปริทันต์อักเสบ โดย 1) มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคปริทันต์อักเสบมากกว่าคนไม่เป็นเบาหวานถึง 3 เท่า !!! …

เบาหวานและโรคช่องปาก Read More »

ฟันหลุดเป็นเรื่องธรรมดา

“คนเราอายุมากขึ้น ฟันก็หลุดเป็นเรื่องธรรมดานั่นแหละ !!” จริงหรือ? ถ้าเราอายุมากขึ้น เราจำเป็นต้องมีฟันหลุดเป็นธรรมดาขนาดนั้นเลยหรือ? ฟันของคนเรามีหน้าที่สำคัญคือบดเคี้ยวอาหาร นี่คือสิ่งที่สามารถเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับทุกคนได้แน่นอนครับ ลองจินตนาการกันดูได้เลยว่าถ้าเราฟันหายไป ปัญหาเรื่องการเคี้ยวอาหารของเราจะเป็นอย่างไร จากที่เราเคยใช้ฟันเพื่อเคี้ยวสเต็กวากิว A5 พอฟันเราหลุดร่วงไป การเคี้ยวเนื้อฟินๆแบบนั้นคงลำบากน่าดู จริงไหมครับ งานวิจัยของ Gerritsen et al (2010) ก็ได้ยืนยันแล้วว่าหากฟันหลุดร่วงไปจะส่งผลเสียต่อคุณภาพชีวิตของมนุษย์อย่างแน่นอน ถึงไม่ต้องมีงานวิจัยใดมาคอนเฟิร์ม ทุกคนคงทราบดีว่าเราคงเคี้ยวอาหารไม่อร่อยหรอก ถ้าฟันเราหายไป       นอกจากนี้การศึกษาของ Brown (2009) ก็รายงานว่า การที่เราไม่มีฟันเหลือเลยซักซี่ก่อนวัย 65 ปีเนี่ยครับ สามารถเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากสาเหตุด้านสุขภาพใดๆ ก็ตามมากถึง 19% แม้จะมีฟันเทียมใส่ โอกาสเสี่ยงต่อการเสียชีวิตก็ยังมากถึง 10% เลยนะครับ ไม่ใช่เพียงแค่นั้น ในผู้ป่วยที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบอยู่แล้วด้วยเนี่ย Peng et al (2019) เขายังพบว่ามันเกี่ยวข้องกับโรคนี้อีกด้วย และเพิ่มอัตราการเสียชีวิตจากสาเหตุด้านสุขภาพได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้น ผมคงไม่ต้องเอาวิจัยมายืนยันเพิ่มเติมแล้ว เราทุกคนควรจะดูแลฟันของตัวเราเองให้อยู่ได้ตลอดชีวิตนะครับ แล้วเราจะป้องกันไม่ให้ฟันเราหลุดเลยตลอดชีวิตได้จริงๆ หรอ?   …

ฟันหลุดเป็นเรื่องธรรมดา Read More »

ยาสีฟัน เลือกอย่างไรดี

ยาสีฟัน เลือกอย่างไรดี? ยาสีฟันที่ทุกคนใช้อยู่ในปัจจุบัน ดีต่อสุขภาพช่องปากและฟันแล้วหรือยัง? “ทำไมหมอถึงต้องมาพูดถึงการเลือกยาสีฟันด้วยล่ะ?” คำตอบคือ ผมสังเกตว่าหลายๆคนจะชอบยาสีฟันที่ 1) ต้องรู้สึกสดชื่น เผ็ดๆ แบบนี้ปากเราจะสะอาดหมดจดแน่ๆ 2) เนื้อยาสีฟันเป็นผงๆ หรือมีผงขัดรู้สึกเป็นเม็ดๆผสมอยู่ในยาสีฟัน แบบนี้รับรองขัดคราบได้สะอาดหมดจดแน่ๆ 3) รสชาติต้องอร่อย กลิ่นหอม หรือจริงๆอาจจะมีเหตุผลมากกว่านี้ในการเลือกยาสีฟันของแต่ละคนครับ วันนี้จะมาแบ่งปันวิธีการเลือกยาสีฟันครับ ลองสังเกตกันดูนะครับว่าปัจจุบันเราเลือกยาสีฟันกันอย่างไร แล้วยาสีฟันที่เราใช้อยู่ปัจจุบันมันมีผลเสียกับเราหรือไม่ ไปเริ่มกัน ยาสีฟันต้องมีส่วนผสมของฟลูออไรด์ ฟลูออไรด์สามารถป้องกันฟันผุได้ ทำให้ผิวฟันแข็งขึ้น อีกทั้งยังสามารถคืนแร่ธาตุสู่ผิวฟันได้อีกด้วย โดยมันจะแทรกซึมเข้าไปในผลึกแคลเซียมบนผิวฟันของเรานั่นเอง ยาสีฟันที่เราใช้กันจะมีส่วนผสมของฟลูออไรด์ประมาณ 1000 – 1500 ppm ทุกคนจะเห็นได้จากฉลากข้างกล่อง จะเขียนว่า “Sodium Fluoride” หรือ “Sodium Monofluorophosphate” เป็นต้น ไม่ว่าจะมาในรูปแบบไหน ขอแค่เห็นคำว่า “-fluoro-” ถือว่าใช้ได้ครับ นอกจากนี้ หากใครมีฟันผุระยะเริ่มต้น (Initial caries) มันยังสามารถซ่อมแซมผิวฟันให้กับเราได้ด้วย – ย้ำว่าฟันผุระยะเริ่มต้นนะครับ หากเกิดเป็นรู เป็นหลุมแล้วล่ะก็ ต้องไปอุดฟันอย่างเดียวเลยครับ …

ยาสีฟัน เลือกอย่างไรดี Read More »

Scroll to Top