logo-full-v2

Joe

KMITL Virtual International Programs Week

คณะทันตแพทยศาสตร์ได้เข้าร่วมกิจกรรม KMITL Virtual International Programs Week ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 8 – 14 พฤศจิกายน 2564 โดยจะมีการแนะนำคณะ หลักสูตร และเกณฑ์การรับสมัครนักศึกษา ผ่านช่องทาง Zoom application ขอเชิญผู้ที่สนใจทุกท่านลงทะเบียนผ่าน QR code เพื่อเข้าร่วมฟังและสอบถามข้อสงสัยต่าง ๆ โดยท่านสามารถเลือกเข้าร่วมได้ตามวันและเวลาที่ระบุไว้ในตารางกิจกรรม

เบาหวานและโรคช่องปาก

ความรุนแรงของโรคเบาหวาน มีผลต่อความรุนแรงของโรคปริทันต์อักเสบด้วยจริงหรือ? เท่านั้นยังไม่พอ โรคปริทันต์อักเสบยังทำให้โรคเบาหวานรุนแรงขึ้นด้วย? มันเกี่ยวข้องกันด้วยหรือ? ก่อนจะไปหาคำตอบกัน มาทบทวนคร่าวๆเกี่ยวกับโรคปริทันต์อักเสบกันก่อน โรคปริทันต์อักเสบ คือ การเกิดอักเสบเรื้อรังบริเวณอวัยวะรอบๆฟันแท้ของเรา ได้แก่ เหงือก กระดูก ผิวรากฟัน และเอ็นยึดรากฟันหรือเอ็นยึดปริทันต์ (Periodontal ligament) ปัญหาของโรคนี้คือ พอรอบๆฟันของเราเกิดการอักเสบ กระดูกและเอ็นยึดปริทันต์จะถูกทำลายไป (ปกติมันมีหน้าที่พยุงฟันแท้ของเราให้ไม่เกิดการโยกและใช้งานได้) และเกิดปัญหาอื่นๆตามมา เช่น ฟันโยก ปวดฟันจากการอักเสบ เป็นต้น ใครมองภาพไม่ออก ลองไปอ่าน EP 1 ดูนะครับ หมอจะพาเปรียบเทียบให้เห็นภาพเลย “แล้วโรคเบาหวานเกี่ยวอะไรกันกับโรคปริทันต์อักเสบล่ะ?” ความสัมพันธ์ของโรคเบาหวานและโรคปริทันต์อักเสบเริ่มชัดเจนมากขึ้นมาตั้งแต่ช่วง 1990s แล้วครับ ซึ่งปัจจุบัน เราสามารถเรียกได้ว่ามันมีความสัมพันธ์กันแบบ “Two-way relationship” หรือสัมพันธ์กันสองทาง หมายความว่า โรคเบาหวานส่งผลให้โรคปริทันต์อักเสบแย่ลงได้ และโรคปริทันต์อักเสบยังทำให้โรคเบาหวานแย่ลงได้ด้วย มันเป็นไปได้ด้วยหรือ? ไปหาคำตอบกัน เริ่มต้นจากมุมมองของ “โรคเบาหวาน” โรคเบาหวานถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเกิดโรคปริทันต์อักเสบ โดย 1) มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคปริทันต์อักเสบมากกว่าคนไม่เป็นเบาหวานถึง 3 เท่า !!! …

เบาหวานและโรคช่องปาก Read More »

ฟันหลุดเป็นเรื่องธรรมดา

“คนเราอายุมากขึ้น ฟันก็หลุดเป็นเรื่องธรรมดานั่นแหละ !!” จริงหรือ? ถ้าเราอายุมากขึ้น เราจำเป็นต้องมีฟันหลุดเป็นธรรมดาขนาดนั้นเลยหรือ? ฟันของคนเรามีหน้าที่สำคัญคือบดเคี้ยวอาหาร นี่คือสิ่งที่สามารถเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับทุกคนได้แน่นอนครับ ลองจินตนาการกันดูได้เลยว่าถ้าเราฟันหายไป ปัญหาเรื่องการเคี้ยวอาหารของเราจะเป็นอย่างไร จากที่เราเคยใช้ฟันเพื่อเคี้ยวสเต็กวากิว A5 พอฟันเราหลุดร่วงไป การเคี้ยวเนื้อฟินๆแบบนั้นคงลำบากน่าดู จริงไหมครับ งานวิจัยของ Gerritsen et al (2010) ก็ได้ยืนยันแล้วว่าหากฟันหลุดร่วงไปจะส่งผลเสียต่อคุณภาพชีวิตของมนุษย์อย่างแน่นอน ถึงไม่ต้องมีงานวิจัยใดมาคอนเฟิร์ม ทุกคนคงทราบดีว่าเราคงเคี้ยวอาหารไม่อร่อยหรอก ถ้าฟันเราหายไป       นอกจากนี้การศึกษาของ Brown (2009) ก็รายงานว่า การที่เราไม่มีฟันเหลือเลยซักซี่ก่อนวัย 65 ปีเนี่ยครับ สามารถเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากสาเหตุด้านสุขภาพใดๆ ก็ตามมากถึง 19% แม้จะมีฟันเทียมใส่ โอกาสเสี่ยงต่อการเสียชีวิตก็ยังมากถึง 10% เลยนะครับ ไม่ใช่เพียงแค่นั้น ในผู้ป่วยที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบอยู่แล้วด้วยเนี่ย Peng et al (2019) เขายังพบว่ามันเกี่ยวข้องกับโรคนี้อีกด้วย และเพิ่มอัตราการเสียชีวิตจากสาเหตุด้านสุขภาพได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้น ผมคงไม่ต้องเอาวิจัยมายืนยันเพิ่มเติมแล้ว เราทุกคนควรจะดูแลฟันของตัวเราเองให้อยู่ได้ตลอดชีวิตนะครับ แล้วเราจะป้องกันไม่ให้ฟันเราหลุดเลยตลอดชีวิตได้จริงๆ หรอ?   …

ฟันหลุดเป็นเรื่องธรรมดา Read More »

ยาสีฟัน เลือกอย่างไรดี

ยาสีฟัน เลือกอย่างไรดี? ยาสีฟันที่ทุกคนใช้อยู่ในปัจจุบัน ดีต่อสุขภาพช่องปากและฟันแล้วหรือยัง? “ทำไมหมอถึงต้องมาพูดถึงการเลือกยาสีฟันด้วยล่ะ?” คำตอบคือ ผมสังเกตว่าหลายๆคนจะชอบยาสีฟันที่ 1) ต้องรู้สึกสดชื่น เผ็ดๆ แบบนี้ปากเราจะสะอาดหมดจดแน่ๆ 2) เนื้อยาสีฟันเป็นผงๆ หรือมีผงขัดรู้สึกเป็นเม็ดๆผสมอยู่ในยาสีฟัน แบบนี้รับรองขัดคราบได้สะอาดหมดจดแน่ๆ 3) รสชาติต้องอร่อย กลิ่นหอม หรือจริงๆอาจจะมีเหตุผลมากกว่านี้ในการเลือกยาสีฟันของแต่ละคนครับ วันนี้จะมาแบ่งปันวิธีการเลือกยาสีฟันครับ ลองสังเกตกันดูนะครับว่าปัจจุบันเราเลือกยาสีฟันกันอย่างไร แล้วยาสีฟันที่เราใช้อยู่ปัจจุบันมันมีผลเสียกับเราหรือไม่ ไปเริ่มกัน ยาสีฟันต้องมีส่วนผสมของฟลูออไรด์ ฟลูออไรด์สามารถป้องกันฟันผุได้ ทำให้ผิวฟันแข็งขึ้น อีกทั้งยังสามารถคืนแร่ธาตุสู่ผิวฟันได้อีกด้วย โดยมันจะแทรกซึมเข้าไปในผลึกแคลเซียมบนผิวฟันของเรานั่นเอง ยาสีฟันที่เราใช้กันจะมีส่วนผสมของฟลูออไรด์ประมาณ 1000 – 1500 ppm ทุกคนจะเห็นได้จากฉลากข้างกล่อง จะเขียนว่า “Sodium Fluoride” หรือ “Sodium Monofluorophosphate” เป็นต้น ไม่ว่าจะมาในรูปแบบไหน ขอแค่เห็นคำว่า “-fluoro-” ถือว่าใช้ได้ครับ นอกจากนี้ หากใครมีฟันผุระยะเริ่มต้น (Initial caries) มันยังสามารถซ่อมแซมผิวฟันให้กับเราได้ด้วย – ย้ำว่าฟันผุระยะเริ่มต้นนะครับ หากเกิดเป็นรู เป็นหลุมแล้วล่ะก็ ต้องไปอุดฟันอย่างเดียวเลยครับ …

ยาสีฟัน เลือกอย่างไรดี Read More »

กิจกรรมวันทันตสาธารณสุข

คณะทันตแพทยศาสตร์ สจล. ได้จัดกิจกรรมวันทันตสาธารณสุข โดยการลงพื้นที่พบปะทีมผู้นำชุมชน ทีมแกนนำสุขภาพ และทีมคณาจารย์จากชุมชนมาเรียลัย พร้อมทั้งเปิดตัวโครงการ “การดูแลให้คำปรึกษาสุขภาพช่องปากทางไกล Oral Health for all” ซึ่งเป็นโครงการทันตสาธารณสุขที่มุ่งหวังให้ประชาชนสามารถปรึกษาปัญหาสุขภาพช่องปากกับทันตแพทย์ผ่านทาง application ที่คณะฯกำลังพัฒนาอยู่ในขณะนี้ พร้อมทั้ง มอบแปรงสีฟัน และยาสีฟันให้กับประชาชนในชุมชนจำนวน 500 ครัวเรือน

ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการและรับมอบนวัตกรรมทางการแพทย์

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ร่วมกับ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการและรับมอบนวัตกรรมทางการแพทย์ ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ กับ รองศาสตราจารย์ ดร. นพ. ทพ.ศิริชัย เกียรติถาวรเจริญ คณบดี คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี รองศาสตราจารย์ ทพญ.อารยา พงษ์หาญยุทธ รักษาการคณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ และ รองศาสตราจารย์ ดร.รัชชพิน ศรีสัจจะลักษณ์ รองคณบดีฝ่ายหลักสูตรก่อนปริญญานานาชาติและเครือข่ายความร่วมมือ ร่วมลงนามเป็นพยานในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ พร้อมกันนี้ผู้บริหารจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และ ผู้บริหารคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ยังได้ให้เกียรติเข้าร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามดังกล่าว บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์หลักคือ การสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ ทางการวิจัย และทางนวัตกรรมวิศวกรรมทางการแพทย์ ผ่านการนำองค์ความรู้ทางทันตแพทยศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ทางการแพทย์ มาบูรณาการเข้าด้วยกัน และเพื่อการสร้างระบบการจัดการด้านการรับมือภาวะแพร่กระจายเชื้อทางกายภาพที่เป็นภาวะคุกคามรุนแรงในปัจจุบันและอนาคต นอกจากนี้ เมื่อเสร็จสิ้นพิธีลงนามแล้ว สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โดยมีคุณจรูญเดช เจนจรัสสกุล ประธานกรรมการส่งเสริมกิจการสถาบัน และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัชนี กุลยานนท์ …

ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการและรับมอบนวัตกรรมทางการแพทย์ Read More »

Scroll to Top